ประกันภัยอุบัติเหตุเมื่อเทียบกับประกันภัยประเภทอื่น |
ประกันภัย อุบัติเหตุเป็นประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก เนื่องจากอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และเป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเสมอๆ ถึงแม้ว่าเราจะใช้ความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม ซึ่งเราจะพบเห็นข่าวการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ อยู่ทุกวัน โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นตามท้องถนนในทุกเทศกาล และมักเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง หรืออาจจะเป็นอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นขณะอยู่บ้าน ที่ทำงาน เหล่านี้เป็นตัวอย่างที่ชี้ชัดว่า ชีวิตคนเรามีความเสี่ยงได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานที่ |
อุบัติเหตุ นั้นมีความแตกต่างจากการเจ็บป่วย เพราะว่าอุบัติเหตุนั้นหมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันจากปัจจัยภายนอกร่างกายโดยมิได้เจตนา ส่งผลโดยตรงให้เกิดการบาดเจ็บทางร่างกาย ดังนั้น การให้ความคุ้มครองของประกันภัยอุบัติเหตุจึงแตกต่างจากประกันสุขภาพหรือ ประกันชีวิตที่ท่านอาจมีอยู่ เพราะประกันสุขภาพเน้นการชดเชยค่ารักษาพยาบาลไม่ว่าจากสาเหตุใดๆ ทั้งอุบัติเหตุ หรือการเจ็บป่วย ขณะที่ประกันชีวิตจะเกี่ยวข้องกับกรณีเสียชีวิตไม่ว่าจากสาเหตุใดๆ ก็ตามเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อให้เข้าใจง่ายในความแตกต่างของประกันภัยทั้ง 3 แบบ สามารถจำแนกรายละเอียดดังตารางด้านล่าง |
|
เสียชีวิต |
ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ ฯ |
ค่ารักษาพยาบาล |
จากอุบัติเหตุ |
จากการเจ็บป่วย |
จากอุบัติเหตุ |
จากการเจ็บป่วย |
จากอุบัติเหตุ |
จากการเจ็บป่วย |
ประกันภัยอุบัติเหตุ |
/ |
x |
/ |
x |
/ |
x |
ประกันสุขภาพ |
x |
x |
x |
x |
/ |
/ |
ประกันชีวิต |
/ |
/ |
ต้องซื้อเพิ่ม โดยอยู่ในรูป อนุสัญญา |
ต้องซื้อเพิ่ม โดยอยู่ในรูป อนุสัญญา |
|
ประเภทของประกันภัยอุบัติเหตุ แบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้ |
ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือที่นิยมเรียกกันว่า ประกันภัยพีเอ (PA) กรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุประเภทนี้ หมายถึง การทำประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับบุคคล จะเป็นเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น หรือจะรวมถึงบุคคลในครอบครัวด้วยก็ได้ |
ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม เป็นกรมธรรม์ประกันภัยที่เหมาะสำหรับองค์กรเพื่อใช้ในการให้สวัสดิการแก่ ลูกจ้าง มีลักษณะคิดเหมาเป็นรายหัวภายในองค์กร หากลูกจ้างได้พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของบริษัทนั้นๆ แล้ว ก็ถือว่าหมดความคุ้มครอง |
ประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา เป็นประกันภัยลักษณะเดียวกับประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม โดยเน้นความคุ้มครองสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา เหมาะสำหรับสถาบันการศึกษาต่างๆ
|
วิธีซื้อประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล |
สาระสำคัญที่พึงตระหนักในการทำประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ประกอบด้วย |
1. จำนวนเงินเอาประกันภัยหรือทุนประกันภัยสูงสุด เป็นจำนวนเงินที่จะปรากฏในหน้าตารางกรมธรรม์ บ่งบอกถึงวงเงินสูงสุดที่จะได้รับจากข้อตกลงคุ้มครองต่างๆ เราสามารถเลือกจำนวนวงเงินเอาประกันภัยนี้ได้ตามความพอใจ แต่ควรจะเหมาะสมกับรายได้ โดยปกติไม่ควรเกิน 100 เท่าของเงินเดือนที่ได้รับในปัจจุบัน หรือ 10 เท่าของรายได้ต่อปี |
2. ข้อตกลงคุ้มครองที่เหมาะสมกับเรา โดยมีข้อที่ควรพิจารณาดังนี้
การเสียชีวิตและสูญเสียอวัยวะ โดยปกติเราจะได้ยินหัวข้อกำกับว่า อบ.1 หรือ อบ.2 ในการซื้อประกันภัยอุบัติเหตุอยู่เสมอ ตัวย่อสองตัวนี้เป็นตัวย่อของข้อตกลงคุ้มครองนี้ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ซึ่งมีความแตกต่างกัน ดังนี้ |
ตารางแสดงการเปรียบเทียบความคุ้มครอง ระหว่างอบ.1 และ อบ.2 |
|
อบ.1 |
อบ.2 |
การเสียชีวิต |
100% |
100% |
ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง |
100% |
100% |
สูญเสียอวัยวะ สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียงมือสองข้างตั้งแต่ข้อมือ หรือเท้าสองข้างตั้งแต่ข้อเท้า หรือสายตาสองข้าง |
100% |
100% |
มือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ และเท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้า |
100% |
100% |
มือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ และสายตาหนึ่งข้าง |
100% |
100% |
เท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้า และสายตาหนึ่งข้าง |
100% |
100% |
มือหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อมือ |
60% |
60% |
เท้าหนึ่งข้างตั้งแต่ข้อเท้า |
60% |
60% |
สายตาหนึ่งข้าง |
60% |
60% |
หูหนวกสองข้างหรือเป็นใบ้ |
- |
50% |
หูหนวกหนึ่งข้าง |
- |
15% |
นิ้วหัวแม่มือ (ทั้งสองข้อ) |
- |
25% |
นิ้วหัวแม่มือ (หนึ่งข้อ) |
- |
10% |
นิ้วชี้ (สามข้อ) |
- |
10% |
นิ้วชี้ (สองข้อ) |
- |
8% |
นิ้วชี้ (หนึ่งข้อ) |
- |
4% |
นิ้วอื่นแต่ละนิ้ว (ไม่น้อยกว่าสองข้อ) นอกจากหัวแม่มือและนิ้วชี้ |
- |
5% |
นิ้วหัวแม่เท้า |
- |
5% |
นิ้วเท้าอื่นแต่ละนิ้ว (ไม่น้อยกว่าหนึ่งข้อ) นอกจากนิ้วหัวแม่เท้า |
- |
1% |
|
การสูญเสียอวัยวะนั้น หมายถึง การถูกตัดออกจากร่างกายหรือการสูญเสียสมรรถภาพนั้นตลอดไป โดยเปอร์เซ็นต์ที่ปรากฏหมายถึง สัดส่วนที่จะได้รับการจ่ายทดแทนเมื่อเทียบกับจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ซื้อ นั่นเอง และจะได้รับค่าทดแทนในรายการที่สูงสุดเพียงรายการเดียวเท่านั้น จะเห็นได้ว่า อบ.2 จะได้รับความคุ้มครองมากกว่า อบ.1 |
ทุพพลภาพ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ |
ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง และสูญเสียอวัยวะโดยถาวรสิ้นเชิง |
- ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หมายถึง ทุพพลภาพถึงขนาดที่ไม่สามารถประกอบหน้าที่ใดๆ ในอาชีพประจำและอาชีพอื่นๆ ได้โดยสิ้นเชิงตลอดไป ซึ่งอาการนั้นจะต้องเกิดขึ้นภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ และเป็นติดต่อกันไม่น้อยกว่า 12 เดือน เช่น ผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุจมน้ำขาดอากาศเป็นเวลานาน ทำให้สมองตาย จึงมีอาการแบบ “เจ้าหญิงนิทรา” นอนอยู่อย่างนั้นตลอด ซึ่งระบบอื่นๆ ยังทำงานปกติแต่สมองไม่ทำงาน หรือกรณีที่เกิดอุบัติเหตุและมีผลกระทบต่อกระดูกสันหลังทำให้เป็นอัมพาต ตั้งแต่คอลงมา หรืออัมพาตท่อนล่างทั้งหมด หรือไม่ก็เป็นอัมพาตซีกหนึ่งของร่างกาย เป็นต้น
- การสูญเสียอวัยวะโดยถาวรสิ้นเชิง หมายถึง การถูกตัดออกจากร่างกายตั้งแต่ข้อมือหรือข้อเท้า และให้หมายรวมถึงการสูญเสียสมรรถภาพในการใช้งานของอวัยวะดังกล่าวข้างต้นโดย มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ชัดเจนว่าไม่สามารถกลับมาใช้งานได้อีกตลอดไป
- การสูญเสียสายตา หมายความถึงตาบอดสนิทและไม่มีทางรักษาให้หายได้ตลอดไป
|
การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง และสูญเสียอวัยวะโดยถาวรสิ้นเชิง และการสูญเสียสายตา จะได้รับความคุ้มครองตามข้อตกลงทั้ง อบ.1 และ อบ.2 |
ทุพพลภาพถาวรบางส่วน |
- ทุพพลภาพถาวรบางส่วน หมายถึง ทุพพลภาพถึงขนาดไม่สามารถประกอบหน้าที่การงานในอาชีพประจำตามปกติได้โดยตลอด ไป แต่ทำงานอื่นๆ เพื่อสินจ้างได้ เช่น การสูญเสียความสามารถในการมองเห็น แต่ไม่ถึงขนาดตาบอด ถือเป็น “ทุพพลภาพถาวรบางส่วน” ผู้เอาประกันภัยที่ทุพพลภาพถาวรบางส่วนอาจไม่สามารถทำงานเดิมได้ แต่ยังทำงานอื่นได้ โดยทุพพลภาพถาวรบางส่วนจะได้รับความคุ้มครองเฉพาะใน อบ.2 เท่านั้น
|
ทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง |
- ทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง หมายถึง เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับบาดเจ็บ ไม่สามารถปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทุกอย่างในการประกอบอาชีพของตนได้ เช่น เป็นพนักงานขับรถแล้วเกิดอุบัติเหตุกระดูกต้นขาหักต้องรักษาโดยการเข้าเฝือก และระยะเวลาที่เข้าเฝือกผู้เอาประกันไม่สามารถทำงานได้ ถือเป็นทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองเฉพาะใน อบ.2 เท่านั้น โดยมีลักษณะการจ่ายเป็นค่าทดแทนตามจำนวนสัปดาห์ที่อยู่ในระยะทุพพลภาพ
|
ทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน |
- ทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน หมายถึง ความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทำให้ผู้เอาประกันภัยมีอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานบาง ส่วนในการประกอบอาชีพประจำตามปกติของผู้เอาประกันภัย หรือเป็นผลต่อเนื่องจากการทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง แต่ยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ครบทุกส่วน ซึ่งทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วนได้รับความคุ้มครองเฉพาะใน อบ.2 เท่านั้น โดยมีลักษณะการจ่ายเป็นค่าทดแทนตามจำนวนสัปดาห์ที่อยู่ในระยะทุพพลภาพชั่ว คราวบางส่วน
|
ค่ารักษาพยาบาล |
ประกันภัยอุบัติเหตุมีให้เลือกทั้งรูป แบบที่รวมค่ารักษาพยาบาล และไม่รวมค่ารักษาพยาบาลก็ได้ โดยเป็นค่ารักษาพยาบาลที่มีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ มิใช่การเจ็บป่วย ข้อดีคือสามารถเบิกได้ทั้งแบบคนไข้นอกหรือคนไข้ใน และสามารถเบิกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่ในการเบิกแต่ละครั้ง จะสามารถเบิกได้ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงและต้องไม่เกินวงเงินเอาประกัน ภัย โดยปกติแพ็คเกจในการขายประกันภัยอุบัติเหตุมักจะกำหนดอยู่ที่ 10% ของวงเงินสูงสุดกรณีเสียชีวิต |
3. ความคุ้มครองเพิ่มเติม |
ในกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุจะมี รายละเอียดของข้อยกเว้นการจ่ายผลประโยชน์ไว้เป็นมาตรฐาน ซึ่งสามารถดูได้จากกรมธรรม์ประกันภัย แต่อย่างไรก็ดี ข้อยกเว้นบางประเภทสามารถที่จะขอขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ ดังนี้
- การขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
- การจลาจล การนัดหยุดงาน
- สงคราม
- การโดยสารอากาศยานที่มิได้ประกอบการ โดยสายการบินพาณิชย์
- การเล่นหรือแข่งกีฬาอันตราย
- ภัยก่อการร้าย
|
4. ราคาเบี้ยประกันภัย |
ราคาเบี้ยประกันภัย มักจะมีความแตกต่างกันตามปัจจัยดังนี้
- ความคุ้มครองที่เลือกซื้อ ตามที่ได้ระบุไว้ข้างต้น สามารถเลือกความคุ้มครองตามความต้องการ อาทิ ประเภท อบ.1 หรือ อบ.2 ข้อตกลงเรื่องทุพพลภาพ ข้อตกลงเรื่องค่ารักษาพยาบาล ความคุ้มครองเพิ่มเติมตามที่ต้องการ รวมถึงจำนวนเงินเอาประกันภัยสูงสุด ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยหลักในการกำหนดเบี้ยประกันภัย การเลือกซื้อตามที่ต้องการจะทำให้ไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยสูงเกินกว่าความ จำเป็น
- อายุของผู้เอาประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยโดยทั่วไป จะกำหนดเกณฑ์อายุของผู้เอาประกันภัยไว้ที่ 16 – 60 ปี แต่ถ้าหากมีอายุมากกว่า 60 ปี จะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยในราคาสูงกว่าผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี เนื่องจากสภาพความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น
- อาชีพของผู้เอาประกันภัย เบี้ยประกันภัยขึ้นอยู่กับสภาพความเสี่ยงของแต่ละกลุ่มอาชีพ ดังนี้
|
กลุ่ม A
|
ลักษณะงานที่มีหน้าที่ส่วนใหญ่อยู่ใน สำนักงานและทำงานที่ไม่ได้ใช้เครื่องจักร เช่น ผู้บริหาร พนักงานบริษัท แพทย์ เภสัชกร พยาบาล ข้าราชการ วิศวกร เป็นต้น |
กลุ่ม B
|
ลักษณะงานที่ต้องทำงานส่วนใหญ่นอกสำนักงาน หรือเป็นกลุ่มช่างฝีมือที่มีความชำนาญและทักษะ บางครั้งอาจจะมีการใช้เครื่องจักร เช่น ตัวแทน/นายหน้า วิศวกร ช่างไม้ เจ้าของกิจการขนาดเล็ก เป็นต้น |
กลุ่ม C
|
ลักษณะงานที่ส่วนใหญ่มีการใช้เครื่องจักรกลหนัก หรือเป็นผู้ใช้แรงงานหรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ เช่น ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านช่าง ด้านการผลิต การขนส่ง พนักงานขาย นักร้อง นักแสดง มัคคุเทศก์ นักข่าว พนักงานขับรถ เป็นต้น |
กลุ่ม D
|
ลักษณะงานที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด เช่น คนงานก่อสร้าง พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานรับส่งเอกสาร เป็นต้น |
|
TIPs
การประกันภัยเป็นกลุ่ม
การซื้อทำประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม หรือประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา จะได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยต่อคนถูกกว่าการซื้อทำประกันภัยอุบัติเหตุ ส่วนบุคคล เพราะมีปริมาณการซื้อมากกว่า
ความรับผิดส่วนแรก กรณีที่ผู้เอาประกันภัยยอมรับความเสี่ยงส่วนแรกไว้ก่อน จะทำให้ได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จะใช้กับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล
5. การบริการ ชื่อเสียง และฐานะทางการเงินของบริษัท ฯ
กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุนั้นเป็นกรมธรรม์มาตรฐานเหมือนกันทุกบริษัท ค่าเบี้ยประกันภัยจะแตกต่างกันไปตามแบบของความคุ้มครองที่เลือกซื้อ ดังนั้น กรณีที่จะซื้อทำประกันภัยอุบัติเหตุควรพิจารณาถึงด้านอื่นๆ นอกเหนือไปจากราคา อาทิ ฐานะการเงินของบริษัทผู้รับประกันภัย ชื่อเสียงทั้งในด้านการบริการ และความน่าเชื่อถือ เพื่อให้การซื้อประกันภัยของท่านได้รับความอุ่นใจ และความมั่นใจสูงสุด |