การประกันสำหรับผู้โดยสารทางเรือ |
การประกันภัยสำหรับผู้โดยสารเรือโดยสารรับจ้าง |
1. ความคุ้มครอง ให้ ความคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหาย อันเกิดจากความบาดเจ็บทางร่างกายของผู้โดยสารโดยอุบัติเหตุ อันเนื่องจากการใช้บริการเรือ รวมถึงขณะกำลังขึ้นหรือลงจากเรือที่ระบุเอาประกันภัยไว้ และทำให้เกิดผลดังนี้ |
1.1 การเสียชีวิต ทุพพลภาพ ถาวรสิ้นเชิง ถ้าความบาดเจ็บทางร่างกายที่ได้รับ ทำให้ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง ภายใน 180 วัน นับแต่วันเกิดอุบัติเหตุ และทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงนั้น ได้เป็นไปติดต่อกันไม่น้อยกว่า 12 เดือน บริษัทฯ จะจ่ายค่าทดแทนให้ตามจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้
1.2 การสูญเสียอวัยวะและสายตา ถ้าความบาด เจ็บที่ได้รับ ทำให้ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองสูญเสียอวัยวะ สายตาโดยถาวรสิ้นเชิง ภายใน 180 วัน นับแต่วันเกิดอุบัติเหตุ บริษัทฯ จะจ่ายค่าทดแทนตามสัดส่วนให้ตามที่ระบุในกรมธรรม์
1.3 การรักษาพยาบาล ถ้าความบาดเจ็บที่ได้ รับ ทำให้ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองต้องรับการรักษาพยาบาลโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต ประกอบโรคศิลป์ตามกฎหมาย หรือต้องได้รับการพยาบาล โดยพยาบาลที่มีใบอนุญาต บริษัทฯ จะชดเชยค่าใช้จ่ายที่ผู้ได้รับความคุ้มครองได้จ่ายไปจริง ซึ่งเกิดขึ้นภายใน 52 สัปดาห์ นับแต่วันที่เกิดอุบัติเหตุ สำหรับค่ารักษาพยาบาล ค่าการพยาบาล แต่ไม่รวมถึงการจ้างพยาบาลพิเศษ ทั้งนี้ไม่เกิดจำนวนเงินที่ได้เอาประกันภัยไว้ แต่หากผู้ที่ได้รับความคุ้มครอง ได้รับการชดใช้จากสวัสดิการของรัฐ หรือสวัสดิการอื่นใด หรือจากการประกันภัยอื่นมาแล้ว บริษัทฯ จะรับผิดเพียงจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาล และค่าการพยาบาลส่วนที่ขาดเท่านั้น |
2. ข้อยกเว้น เหมือน กับการประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล แต่มีเพิ่มเติมดังนี้ :- บุคคลใดๆ ที่อยู่บนท่าเทียบเรือ เว้นแต่ผู้โดยสารที่กำลังขึ้น หรือลงเรือ ที่ระบุเอาประกันภัยไว้ในตารางกรมธรรม์ |
3. รายละเอียดในการแจ้งทำประกันภัย |
• ชื่อและที่อยู่ของผู้เอาประกันภัย ( เจ้าของเรือ)
• รายละเอียดของเรือ เช่น ชื่อเรือ , ใบอนุญาตใช้เรือเลขที่ , ชนิดเรือ (หรือขอสำเนาใบอนุญาต การใช้เรือของปีที่ผ่านมา)
• น่านน้ำการใช้เรือ (แล่นในแม่น้ำ ลำคลอง เลียบชายฝั่ง หรือทะเล)
• จำนวนเงินเอาประกันภัย
• จำนวนผู้โดยสาร
• การขยายความคุ้มครองถึงพนักงานประจำเรือ |
หมายเหตุ |
1. เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนผู้เอาประกันภัยควรทำ ประกันภัย จำนวนผู้โดยสารตามความเป็นจริงที่เรือโดยสารรับจ้าง สามารถบรรทุกได้
2. เจ้าของเรือ สามารถขยายความคุ้มครองถึงผู้ขับเรือและพนักงานประจำเรือได้ |
|
ประกันอิสรภาพ |
การประกันภัยอิสรภาพ คืออะไร |
การประกันภัยอิสรภาพ เป็นการประกันภัยที่จัดขึ้นโดยมีแนวความคิดมาจากการที่ศาลยุติธรรมจะ จัดระบบการประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนสามารถใช้หนังสือรับรองความรับผิด ของบริษัทประกันภัยเป็นหลักประกันมาวางศาลได้
ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการ ประกันภัย และสมาคมประกันวินาศภัย จึงได้ร่วมกันจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพขึ้น เมื่อประชาชนได้ซื้อ ประกันภัยอิสรภาพแล้ว บริษัทประกันภัยจะออกหนังสือรับรองให้ผู้เอาประกันภัยถือไว้ หากผู้เอาประกันภัยได้ ทำความผิดและตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยระหว่างระยะเวลาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความสะดวก อย่างยิ่งจากการที่สามารถใช้หนังสือรับรองนี้ ยื่นแก่เจ้าพนักงานเพื่อใช้ในการประกันตัว โดยไม่ต้องหา หลักทรัพย์อื่นใดมาวางเป็นหลักประกัน |
• รูปแบบการประกันภัยอิสรภาพ |
การทำประกันภัยอิสรภาพมี 2 รูปแบบคือ |
แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด (ใช้กับบุคคลทั่วไป) |
ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกันภัยถูกดำเนินคดีและถูกควบคุมตัวในคดีอาญาในฐานความผิดอัน เนื่องมาจากการกระทำโดยประมาท บริษัทประกันภัยจะออกหนังสือรับรองตามจำนวนเงินเอาประกันภัย พร้อมกับกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยนำไปใช้เป็นหลักประกันในการขอประกันตัวต่อเจ้าพนักงาน และหากผู้เอาประกันภัยได้ใช้หนังสือรับรองเพื่อประกันตัวไปแล้ว แต่ยังไม่เต็มวงเงินที่ระบุไว้ในหน้าตาราง กรมธรรม์ประกันภัย ผู้เอาประกันภัยสามารถขอหนังสือรับรองฉบับใหม่ ซึ่งมีวงเงินประกันตัวเท่ากับจำนวนเงิน เอาประกันภัยที่คงเหลืออยู่จากบริษัทประกันภัยได้ |
แบบที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด (ใช้กับผู้ตกเป็นผู้ต้องหา หรือ จำเลย) |
ให้ความคุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกันภัยถูกดำเนินคดีและถูกควบคุมตัวในคดีอาญาในทุกลักษณะฐาน ความผิดบริษัทประกันภัยจะออกหนังสือรับรองตามจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย เพื่อนำไปใช้ เป็นหลักประกันในการขอประกันตัวต่อเจ้าพนักงานตามคดีที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย |
• ผู้สามารถซื้อประกันภัย |
กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด ผู้สามารถซื้อประกันภัย คือ บุคคลทั่วไป เช่น วิศวกร หมอ ครู ทนายความ นักบัญชี พยาบาล แม่บ้าน พนักงานขับรถ เป็นต้น กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด ผู้สามารถซื้อประกันภัย คือ ผู้ตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลย |
• เอกสารประกอบที่ใช้ในการซื้อประกันภัย |
แบบก่อนกระทำความผิด |
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน |
แบบหลังกระทำความผิด |
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน
- รายละเอียดคดี เช่น รายงานประจำตัว บันทึกจับกุม บันทึกแจ้งสิทธิ คำร้องฝากขัง คำฟ้อง (เท่าที่มี) |
กรณีบุคคลค้ำประกัน บุคคลค้ำประกันต้องเป็นเจ้าบ้าน พนักงานบริษัท ราชการหรือรัฐวิสาหกิจก็ได้ เอกสาร |
เอกสาร |
- ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน และหนังสือรับรองเงินเดือน |
• ระยะเวลาความคุ้มครอง |
แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด |
- ตามที่ระบุในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย หรือ จนกว่าคดีจะถึงที่สุด |
แบบที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด |
- นับแต่เวลาที่ได้เริ่มประกันตัวจนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา หรือนับแต่เวลาที่ได้เริ่มประกันตัวจนศาล อุทธรณ์มีคำพิพากษา หรือนับแต่เวลาที่ได้เริ่มประกันตัวจนศาลฎีกามีคำพิพากษา หรือนับแต่เวลาที่ได้เริ่ม ประกันตัวจนคดีถึงที่สุด |
• เบี้ยประกันภัย |
แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด |
อัตราเบี้ยประกันภัย ขั้นต่ำ 0.5% ขั้นสูง 1% ตัวอย่างเช่น จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท ผู้ เอาประกันภัยจะจ่ายเบี้ยประกันภัยอยู่ระหว่าง 500 - 1,000 บาท |
แบบที่ 2 กรมธรรมประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด |
เบี้ยประกันภัยแบ่งตามชั้นศาลที่มีคำพิพากษาและฐานความผิด อัตราเบี้ยประกันภัยขั้นต่ำ 5% ขั้นสูง 20% ตัวอย่างเช่น จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท ผู้เอาประกันภัยจะจ่ายเบี้ยประกันภัยอยู่ระหว่าง 5,000 - 20,000 บาท |
• ส่วนลดเบี้ยประกันภัย |
- หากผู้เอาประกันภัยมีบุคคลค้ำประกันต่อบริษัท จะได้รับส่วนลด 10% ของเบี้ยประกันภัย
- หากผู้เอาประกันภัยมีหลักทรัพย์มาวางประกันร่วม จะได้รับส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยลดลงตาม สัดส่วนราคาหลักประกัน |
• การบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย |
ทั้งฝ่ายผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัยไม่สามารถบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยในระหว่างระยะเวลา ประกันภัย |
• การคืนเบี้ยประกันภัย |
บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย ในกรณี ดังนี้ |
แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำความผิด |
เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ในระหว่าง ระยะเวลาประกันภัยไม่มีการเรียกร้องให้ประกันตัว บริษัท ประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้ตามอัตราเบี้ยประกันภัยระยะสั้นที่กำหนดในกรมธรรม์ประกันภัย |
แบบที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำความผิด |
- เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระหว่างระยะเวลาประกันภัย โดยไม่ผิดสัญญาประกันตัว บริษัท ประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยครึ่งหนึ่งให้แก่ทายาทของผู้เอาประกันภัย หรือ
- เมื่อเจ้าพนักงานไม่อนุญาตให้ประกันตัว บริษัทประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้เต็มจำนวนโดยหัก ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ 500 บาท หรือ
- เมื่อเจ้าพนักงานอนุญาตให้ประกันตัว แต่ภายหลังมีคำสั่งถอนหรือยกเลิกการให้ประกันตัว หรือ ผู้เอา ประกันภัยไม่ต้องการที่จะประกันตัวอีกต่อไป บริษัทประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้ร้อยละ 20 หรือผู้เอา ประกันภัยไม่ผิดสัญญาประกันตัวจนสิ้นสุดระยะเวลาประกันภัย บริษัทประกันภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้ร้อยละ 20 |
• การใช้หนังสือรับรอง |
แบบที่ 1 กรมธรรม์ประกันภัยก่อนกระทำความผิด |
- กรณีไม่มีการกระทำความผิดในระหว่างระยะเวลาประกันภัย หนังสือรับรองจะสิ้นอายุตามระยะเวลา ประกันภัยที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย
- กรณีมีการกระทำความผิด ผู้เอาประกันภัยกระทำความผิดในระหว่างระยะเวลาประกันภัย แต่ยัง ไม่ได้ถูกควบคุมตัว บริษัทประกันภัยจะขยายเวลาการใช้หนังสือรับรองที่แนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยออกไป 1 ปี นับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาประกันภัยที่ระบุไว้ในหน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อให้ผู้เอาประกันภัย นำไปใช้ประกันตัวในความผิดที่ได้กระทำขึ้นภายในระยะเวลาประกันภัยนั้น และเมื่อหนังสือรับรองได้ใช้เป็น หลักประกันแล้วจะมีผลผูกพันบริษัทจนกว่าคดีจะถึงที่สุด |
แบบที่ 2 กรมธรรม์ประกันภัยหลังกระทำความผิด |
จะมีผลผูกพันบริษัทและใช้เป็นหลักประกันสำหรับการประกันตัวในฐานความผิดทางคดีอาญาจนกว่า ศาลจะมีคำพิพากษา |
|
ประกันภัยนักกอล์ฟ |
การประกันภัยสำหรับนักกอล์ฟ |
วิริยะประกันภัยสนับสนุนกีฬากอล์ฟด้วยแผนการประกันภัยพิเศษสำหรับนักกอล์ฟ เพื่อความมั่นใจ และปลอดภัยของท่านทุกครั้งที่ฝึกซ้อม หรือออกรอบกับก๊วนที่รู้ใจ โดยเสนอเบี้ยประกันภัยพิเศษให้ท่านเลือก 2 แผน คือ แผนมาตรฐาน และแผนพิเศษ |
• ความคุ้มครองโดยสังเขป |
นักกอล์ฟทุกท่านที่สมัครขอเอาประกันภัยกับบริษัทฯ จะได้รับความคุ้มครอง 4 ส่วน ภายในกรมธรรม์ ฉบับเดียว ในขณะที่หรือสืบเนื่องจากการฝึกหัด การซ้อมหรือการเล่นกอล์ฟในสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกหัด กอล์ฟสาธารณะ |
ส่วนที่ 1 ความรับผิดชอบตามกฏหมายต่อบุคคลภายนอก |
คุ้มครองการเสียชีวิตหรือความบาดเจ็บต่อร่างกายของบุคคลภายนอก และการสูญเสียหรือความ เสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก |
ส่วนที่ 2 ความบาดเจ็บทางร่างกายของผู้เอาประกัน |
คุ้มครองการเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะและสายตา ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง และการรักษาพยาบาล |
ส่วนที่ 3 อุปกรณ์การเล่นกอล์ฟ |
คุ้มครองการสูญเสีย หรือเสียหายต่ออุปกรณ์การเล่นกอล์ฟเนื่องจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์อันไม่อาจ คาดหมายใดๆ |
ส่วนที่ 4 รางวัลพิเศษ "โฮล-อิน-วัน" |
บริษัทฯ ขอเสนอรางวัล "โฮล-อิน-วัน" แก่นักกอล์ฟเป็นเงินสูงสุดถึง 15,000 บาท |